เวลาทำการ

จันทร์-ศุกร์

09.00 - 18.00 น.

เราช่วยคุณได้

@edctravel

Travel License : 11/05594

หน้าแรก

/

บทความท่องเที่ยว

/

ยาที่ถูกห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น

ยาที่ถูกห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น

20

Nov

ญี่ปุ่น

ยาที่ถูกห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น

การเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ กฎระเบียบเป็นเรื่องที่แน่นอนอยู่แล้วว่าต้องปฏิบัติตาม เป็นสิ่งสำคัญมากที่นักท่องเที่ยวควรศึกษาข้อมูลให้ดีและปฏิบัติตามให้ถูกต้อง และแน่นอนว่าประเทศญี่ปุ่นเองนอกจากกฎระเบียบเรื่องเอกสารสำคัญต่างๆ สิ่งของต้องห้ามอย่างสารเสพติด อาวุธ ที่ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่นแล้ว เรื่องยาก็เป็นอีก 1 เรื่องที่หลายๆ คนมองข้ามกันไป เพราะยาเองก็มียาบางตัวที่ประเทศ ญี่ปุ่นห้ามนำเข้าประเทศเหมือนกัน


บทความนี้ทาง EDC TRAVEL เห็นว่าคนไทยชอบไปท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นกันมากเลยจะมาเตือนตัวยา 10 ชนิด ที่ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่นอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นยาที่มีส่วนผสมต้องห้าม ผิดกฏหมายของประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นใครที่จะไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นสามารถมาเช็คดูได้เลย

ยา 10 ชนิด ที่ถูกห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น


กลุ่มที่ 1 ยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน

ซูโดอีเฟดรีน เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด โดยทั่วไปยาที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนผสม มีการใช้ในประเทศไทยภายใต้การควบคุมกำกับในโรงพยาบาล ใช้เป็นยาแก้หวัด ลดน้ำมูก ใช้แก้หูอื้อ และบรรเทาอาการปวดหูที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศ เช่น ขณะนั่งเครื่องบิน ลดระดับเพดานบิน มีทั้งหมด 6 ชนิด คือ


1. TYLENOL COLD

2. SUDAFED

3. ADVIL COLD & SINUS

4. DRISTAN COLD/ “NO DROWSINESS”

5. DRISTAN SINUS

6. DRIXORAL SINUS

กลุ่มที่ 2 ยาแก้หวัดที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในไทย

จะเป็นประเภทยาแก้หวัดที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในไทย มีทั้งแบบน้ำ และแบบเม็ด และเป็นยาดมชนิดแท่ง มี 3 ชนิด คือ


7. NYQUIL

8. NYQUIL LIQUICAPS

9. VICKS INHALER

กลุ่ม 3 ยารักษาอาการท้องเสีย

ยารักษาอาการท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลว ประเทศไทยพึ่งยกเลิกการขึ้นทะเบียน เนื่องจากมีสารไดเฟรอกไซเลต (diphenoxylate) จัดเป็นสารเสพติด มี 1 ชนิด คือ


10. LOMOTIL

แต่อย่าพึ่งตกใจ ยาต้องห้ามที่นำเข้าญี่ปุ่นนั้นไม่มีขึ้นทะเบียนในประเทศไทย หมายความว่ายาที่ซื้อในไทยส่วนมากคุณสามารถพกเจ้าประเทศได้ แต่การพกพายาใดๆ เข้าไปในญี่ปุ่นนั้นต้องมีกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับของเขาเช่นกัน


1. ยารักษาที่มีใบสั่งแพทย์ต้องนำใบสั่งแพทย์นั้นติดตัวไปด้วย

2. ยาต้องอยู่ในแผงยา หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อแสดงรายละเอียดของยาแกเจ้าหน้าที่

3. จำนวนของยาจำเป็นที่ติดตัวได้ต้องใช้ได้ไม่เกิน 30 วัน

4. กลุ่มยาต้องห้าม ที่เป็นกลุ่มเดียวกับยาเสพติด (มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หรือ ยาแก้ปวดชนิดรุนแรง) เช่น โคเดอีน (Codeine) มอร์ฟีน เมทาโดน อันเป็นยาที่แพทย์จ่ายภายใต้การควบคุมอยู่ ต้องขออนุญาตนำออก จากประเทศไทยและทั้งมีใบสั่งแพทย์ถูกต้อง 

5. ยากลุ่มยานอนหลับเช่น Diazepam, Lorazepam และกลุ่มยารักษาโรคเครียดเช่น Fluoxetine เป็นกลุ่มยาที่ควรระวังในการพกพา

เกร็ดความรู้

อ้างอิงรายชื่อยาจากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นประจำนครซีแอทเทิล

     เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นมีระบบการตรวจสอบการนำเข้ายาอย่างเข้มงวด ทั้งยานำมาด้วยตัวเองทางเครื่องบินโดยสาร หรือยาที่ส่งมาทางพัสดุไปรษณีย์ สถานทูตฯ จึงขอเตือนคนไทยทุกคนให้พึงระวังการนำยาเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น หากนำเข้ามาก็มีความเป็นไปได้ที่จะโดนควบคุมตัวและดำเนินคดีตามกฎหมายญี่ปุ่น

จำนวนผู้เข้าชม 178 ครั้ง